Blog - True Incube

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าหันไปทางไหน ใครๆ ก็ให้ความสนใจ

#NFT #TrueIncube #Startup #Startups #NonFungibleToken #Invesment

“NFT” ซึ่งเป็นกระแสและเป็นที่นิยมกันอย่างกว้างขวาง และได้รับความสนใจจากเหล่านักลงทุนรุ่นใหม่เป็นอย่างมากในช่วงกลางปีที่ผ่านมา ซึ่งในปี 2564 “NFT” ทำให้คนทั้งโลกได้เห็นว่า NFT มีศักยภาพมาก และได้เข้ามาเขย่าวงการศิลปะ ทำรายได้ให้กับศิลปิน NFT Art หลากหลายสไตล์ทั่วโลก จนมีเม็ดเงินหมุนเวียนอย่างมหาศาล พลิกชีวิตไปชั่วข้ามคืนก็มี และไม่ใช่เฉพาะแค่การซื้อขายแค่เฉพาะงานศิลปะเพียงเท่านั้น ยังฮอตไปจนถึงวงการอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น วงการดนตรี วงการเกมส์ วงการกีฬา หรือจะเป็นวงการแฟชั่น ต่างก็หันมาเกาะกระแสด้วยเช่นกัน ทำให้ทั้งครีเอเตอร์ คอลเลคเตอร์ นักลงทุน ทั้งหน้าใหม่และหน้าเก่าต่างก็ตื่นเต้นไปตามๆ กัน แต่ถ้าพูดถึงในปัจจุบันนี้ ราคาและปริมาณการซื้อขายของ NFT ลดลงอย่างชัดเจน เมื่อเทียบกับปีก่อน แต่มีข้อมูลจาก thecoinrepublic.com ได้แจ้งว่า " การ Search หรือหาข้อมูล NFT จาก Google ก็มีแนวโน้มสูงขึ้นเช่นกัน หรือดังที่ Dune Analytic ชี้ให้เห็น จำนวนผู้คนที่เข้าสู่โลกของ NFT หรือมีการซื้อขาย NFT กลับมากขึ้นอย่างเรื่อยๆ อย่างมีนัยสำคัญ หรือเพิ่มขึ้นมากกว่า 50% ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา เป็นเรื่องที่เราต้องติดตามกันต่อไปว่า " NFT " จะมีทิศทางไปทางไหน จะเป็นกระแสแค่ช่วงสั้นๆ หรือจะหยุดอยุ่กับที่ เหมือนอย่างอื่นไหม หรือจะอยู่ต่อไปอีกยาวๆ? หากใครไม่อยากพลาดที่จะทำความเข้าใจใน NFT ให้มากขึ้น สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมในบทความนี้ได้เลย

NFT คืออะไร

NFT เป็นคำย่อมาจากคำว่า Non-Fungible Token ซึ่งเป็นโทเค็นประเภทหนึ่งที่นำเทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) มาใช้ ทำให้สามารถแสดงความเป็นเจ้าของของสินทรัพย์ชิ้นนั้นได้ ซึ่งลักษณะโดดเด่นที่ทำให้ NFT เป็นสินทรัพย์ดิจิทัลที่ต่างจากคริปโตเคอร์เรนซีเลยก็คือ NFT แต่ละชิ้นจะแตกต่างกัน ไม่สามารถทำซ้ำ หรือทดแทนกันได้ คล้ายกับของสะสมอย่างภาพวาดต้นฉบับ ที่จะมีชิ้นเดียวในโลก หากถูกคัดลอกขึ้นมาก็จะสามารถระบุได้อยู่ดีว่าชิ้นไหนคือต้นฉบับด้วยระบบเทคโนโลยีบล็อกเชน โดยหลักการทำงานของ NFT คือ สมมุติว่าเรามีภาพถ่าย 1 ภาพ เราสามารถนำไป Mint บนแพลตฟอร์มตลาด NFT ต่าง ๆ เพื่อทำให้ไฟล์ภาพนั้นกลายเป็น NFT แล้วลงขายในแพลตฟอร์ม เมื่อมีคนเข้ามายังแพลตฟอร์มดังกล่าวแล้วเห็นว่าภาพของเราน่าสนใจ อยากซื้อเป็นของตัวเอง ก็สามารถซื้อได้ด้วยสกุลเงินดิจิทัล ทั้งนี้ ภาพดังกล่าวก็จะเป็นของผู้ซื้อ มีการระบุตัวตนชัดเจน และสามารถเก็บไว้ในกระเป๋าดิจิทัลของผู้ซื้อได้อีกด้วย ด้วยคุณสมบัติเช่นนี้ NFT จึงอยู่ในรูปแบบของสินทรัพย์ที่มีความเฉพาะตัวสูง เช่น ผลงานศิลปะ หรือที่เรียกว่า Crypto Art ภาพถ่าย ภาพ Meme เพลง วิดีโอ ของสะสม การ์ดเกม กีฬา การ์ตูน รวมทั้งงานแฟชั่นด้วย พูดง่าย ๆ ว่าอะไรก็ตามที่เป็นเอกลักษณ์ชิ้นเดียวในโลกก็สามารถนำมาแปลงให้อยู่ในรูปแบบ NFT ได้ทั้งสิ้น

ขอบคุณรูปภาพจาก : cryptosiam.com

NFT มีจุดเด่นตรงไหน ทำเงินได้อย่างไร และวิธีซื้อ-ขาย NFT อย่างไร

หากเราสร้างผลงานขึ้นมาชิ้นหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นงานศิลปะ คลิปวิดีโอ ของสะสม เสื้อผ้า แสตมป์ การ์ดเกม ฯลฯ ที่ถือเป็นของชิ้นเดียวในโลก เป็นลิขสิทธิ์ของเราเอง ก็สามารถแปลงผลงานเหล่านั้นให้อยู่บนออนไลน์ในรูปแบบโทเคน NFT จากนั้นนำ NFT ไปขายต่อและโอนกรรมสิทธิ์โดยไม่ต้องมีคนกลาง เพราะทำผ่านระบบบล็อกเชนที่มีความปลอดภัยสูง ทุกธุรกรรมสามารถตรวจสอบได้ และแทบจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูลไม่ได้เลย และแม้ว่าผลงานจะถูกขายต่อ เปลี่ยนมือไปเรื่อย ๆ แต่ก็ยังตรวจสอบย้อนหลังได้ว่ามีใครเคยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในผลงานชิ้นนี้มาแล้วบ้าง นอกจากนี้เรายังสามารถนำ NFT ออกประมูลได้ด้วย ซึ่งถ้าเป็นแรร์ไอเทมก็จะดึงดูดให้คนอยากได้และต้องสู้ราคากัน เป็นการเพิ่มมูลค่าสินทรัพย์ดิจิทัลอีกหลายเท่า ใครชนะการประมูลก็จะได้รับโทเคนในการยืนยันความเป็นเจ้าของสินทรัพย์ชิ้นนั้น ด้วยเหตุนี้ คนที่ซื้อ-ขายงาน NFT จึงไม่ได้มีแค่ศิลปินหรือนักสะสม แต่ยังมีนักลงทุนหลายคนที่ตั้งใจเข้ามาซื้อเก็งกำไร แล้วนำไปขายต่อให้ผู้ที่สนใจได้ในราคาสูงขึ้น เนื่องจากงาน NFT หลายชิ้น เป็นคอลเล็กชั่นพิเศษ หรือของหายากที่มีคุณค่าและมูลค่าสูงในกลุ่มนักสะสม และวิธีซื้อ-ขาย NFT มีอยู่ด้วยกัน 5 วิธีหลักๆ ด้ังนี้ 1. สร้างกระเป๋าเงินดิจิทัล (Digital Wallet) เมื่อจะทำธุรกรรมบนโลกดิจิทัล จำเป็นต้องมี "กระเป๋าเงินดิจิทัล" หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า "Wallet" เพื่อใช้เก็บสินทรัพย์ดิจิทัลหรือเงินคริปโตสกุลต่าง ๆ ที่นิยมใช้คือ "Mobile Wallet" แอปฯ ที่หลายคนแนะนำก็คือ Trust Wallet, MetaMask เพราะเป็นกระเป๋าเงินอีเธอเรียมที่เชื่อมต่อกับเว็บไซต์ต่าง ๆ ได้ง่ายกว่ากระเป๋าเงินอื่น ๆ และติดตั้งได้บน Google Chrome 2. เปิดบัญชีซื้อ-ขายคริปโทเคอร์เรนซี สามารถเปิดบัญชีได้กับ Exchange หรือศูนย์ซื้อ-ขายสินทรัพย์ดิจิทัล โดยในประเทศไทยมีหลายบริษัท เช่น BITKUB, ​Satang Pro, Zipmex เป็นต้น 3. ซื้อเหรียญ ETH แล้วโอนไปไว้ใน Wallet ในการซื้อ-ขาย NFT ส่วนใหญ่จะต้องใช้เงินอีเธอเรียม (Ethereum : ETH) จึงต้องมีเงินสกุลนี้เก็บไว้ใน Wallet ของเราด้วย วิธีซื้อเหรียญ ETH ก็ไม่ยาก คล้ายกับการซื้อหุ้น 4. เตรียมผลงาน NFT 5. อัปโหลดผลงานใน NFT Marketplace NFT Marketplaceที่ดังในหมู่นักสะสมก็คือ OpenSea, Rarible, Foundation.app, SuperRare ฯลฯ

เรื่องลิขสิทธิ์ที่ผู้ซื้อ NFT ควรรู้

ผู้ซื้อผลงาน NFT ต้องทำความเข้าใจเรื่องลิขสิทธิ์ให้ชัดเจน เพื่อป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์โดยไม่ได้ตั้งใจ และสิ่งที่ควรรู้ก็คือ 1.NFT คือการแสดงสิทธิการเป็นเจ้าของเหรียญดิจิทัลเท่านั้น ไม่ใช่การเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในผลงาน ดังนั้นแม้เราจะซื้อ NFT มาแล้ว แต่เจ้าของลิขสิทธิ์ยังเป็นศิลปินผู้สร้างสรรค์ผลงานออกมา เว้นแต่จะมีการทำสัญญาโอนลิขสิทธิ์อย่างชัดเจน 2.การซื้อผลงาน NFT ต้องทำความเข้าใจสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ (Licensing Agreement) หรือข้อกำหนดต่าง ๆ (Terms of Use) ว่าเรามีสิทธิ์ในผลงานที่ซื้อมามากน้อยแค่ไหน เช่น NFT บางเหรียญอาจกำหนดเงื่อนไขในลักษณะต่อไปนี้ -ใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัวเท่านั้น แต่ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ -ไม่อนุญาตให้ผู้ซื้อนำไปทำซ้ำ แก้ไข ดัดแปลง ตัดต่อ -อนุญาตให้ผู้ซื้อนำไปขายต่อได้ แต่เจ้าของลิขสิทธิ์จะได้รับค่าลิขสิทธิ์ทุกครั้งที่มีการขายเปลี่ยนมือ เป็นต้น 3.หากผู้ซื้อทำผิดเงื่อนไขจะถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ดังนั้นก่อนจะนำผลงานที่ซื้อมาไปทำอะไร อย่าลืมตรวจสอบให้ชัดเจนว่าตัวเองมีสิทธิ์จริงหรือไม่

การใช้ NFT ในมุมมองของนักลงทุน กับโอกาสทางธุรกิจ Startup

Non-Fungible Token ถือว่าเป็นประเภทเหรียญอีกหนึ่งประเภทเหรียญที่น่าสนใจอย่างมาก เพราะ Non-Fungible Token ช่วยทำให้สินทรัพย์ที่มีมูลค่า หายาก มีความเฉพาะตัวสูง สามารถซื้อขายได้ง่ายมากขึ้น คนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้มากขึ้นไม่ว่าจะอยู่มุมไหนของโลกก็ตาม ลองจินตนาการง่าย ๆ ของที่มีอยู่เท่าเดิม แต่ดึงความต้องการที่มากขึ้นจากทั่วโลกเข้ามา ก็จะทำให้ความต้องการเพิ่มสูงขึ้น ราคาของสินทรัพย์นั้นหรือ Non-Fungible Token นั้น ๆ ก็มีมูลค่าที่สูงขึ้นนั่นเอง สำหรับนักลงทุนสินทรัพย์ใดก็ตามที่มีแนวโน้มราคาที่ชัดเจน มีความต้องการมากขึ้น นักลงทุนแบบเรา ก็สามารถเข้าไปหาโอกาสจังหวะทำกำไรได้เช่นกัน เพราะอย่างงานศิลปะจริง ๆ เองก็ถือว่าเป็นสินทรัพย์ประเภทหนึ่งสำหรับนักสะสมอยู่แล้ว และอย่างที่เห็นว่ามีแบรนด์ต่าง ๆ มากมายที่เริ่มทยอยกันเข้ามาสู่โลก NFT ยังแสดงให้เห็นถึงโอกาสของ NFT ในมุมมอง Startup ที่สามารถขยายวงกว้างไปสู่ธุรกิจอื่น ๆ ในหลากหลายขนาดได้ เช่น ให้สิทธิพิเศษกับลูกค้าที่ถือครอง NFT บางคอลเลกชัน นำ NFT มาเป็นส่วนลดการซื้อสินค้า หรือแม้แต่ออกคอลเลกชัน NFT เป็นของแบรนด์ตัวเองเพื่อขายหรือแจกจ่ายให้ลูกค้าได้ ดังนั้น Non-Fungible Token หรือ NFT นั้นทำให้เราสามารถใช้ประสิทธิภาพของ Blockchain ได้หลากหลายกว่าที่เคย สามารถเปลี่ยนวงการของสะสม งานศิลปะ งานออกแบบ วงการกีฬาและแฟชั่น ให้ขึ้นมาอยู่ในรูปแบบของสินทรัพย์ดิจิทัลที่สามารถซื้อขายแลกเปลี่ยนกันได้ สร้างโอกาสใหม่ ๆ ในการลงทุน หลังจากนี้เราคงจะได้เห็นการประยุกต์ใช้ NFT ในหลากหลายวงการมากขึ้นในอนาคต

ตัวอย่าง สตาร์ตอัป ที่ทำธุรกิจด้าน NFT และแบรนด์ ที่ใช้ NFT

ตัวอย่าง สตาร์ตอัป "ยูนิคอร์น" ที่ทำธุรกิจด้าน NFT : 1.BINANCE แพลตฟอร์มซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลและเครือข่ายบล็อกเชน 2.FTX แพลตฟอร์มซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล 3. ripple บริการโซลูชั่นด้านบล็อกเชนและคริปโท 4.OpenSea แพลตฟอร์มซื้อขาย NFT 5. DIGITAL CURRENCY GROUP ธุรกิจที่เน้นลงทุนในบริษัทที่ทำธุรกิจด้านคริปโทและบล็อกเชน 6. SKYMAVIS ธุรกิจพัฒนาเกมและผลิตภัณฑ์บนบล็อกเชน 7. NFT1 Market แพลตฟอร์มที่จะทำงานบนระบบ Binance Smart Chain และ Polygon Chain เพื่อให้ทุกคนสามารถซื้อขาย NFT คุณภาพสูงที่ถูกรังสรรค์โดยศิลปินชาวไทย และขายโดยตรงจาก ‘NFT1’ 8. Bitkub NFT แพลตฟอร์มศูนย์รวม NFT ของไทย ที่รองรับการใช้งานและกิจกรรมร่วมกับ NFT ได้หลากหลายรูปแบบ. 9. Coral KBTG หนึ่งในเครือธนาคารกสิกรไทย ปั้นธุรกิจใหม่ๆ ด้าน DeFi ผ่านการผลักดันของ KX จนทำให้เกิดธุรกิจอย่าง Coral 10. JNFT เป็น “ตลาดกลาง ซื้อ-ขาย-ประมูล ผลงานศิลปะ” ในรูปแบบ “คริปโตเคอเรนซี" ของ “ประเทศไทย” ตัวอย่างแบรนด์ที่ใช้ NFT : 1. Louis Vuitton และ NFTs ที่ไม่สามารถซื้อได้ โดยเปิดตัวโมบายเกม ที่ชื่อว่า Louis the Game และความพิเศษของแคมเปญนี้ก็คือในเกม Louis the Game จะมี 30 NFT ซ่อนอยู่ตลอดการเดินทางของผู้เล่น 2. Coca-Cola แบรนด์เครื่องดื่มอย่าง Coca-Cola ได้เปิดประมูลเซตร่วมกับ Tafi Startup 3. Burberry กับ Blankos Block Party เกมดังออนไลน์ แบรนด์ดังจากอังกฤษได้คอลแล็บกับ Mythical Games 4. GUCCI x SUPERPLASTICH ร้านขายสินค้าดิจิทัลสไตล์วินเทจ 5.Hyundai X Meta Kongz NFT Project นำเสนอความเป็น Metamobility ที่สนับสนุนรูปแบบการขับเคลื่อนภายในโลกเสมือนจริง

ขอบคุณรูปภาพจาก : marketthink.co