Blog - True Incube

ทำไม Startup 90% ล้มเหลว แล้วอีก 10% ที่สำเร็จ เขาทำอะไรกัน?

#TrueIncube #Startup #Startups #Invesment

ในปัจจุบัน มี " Startup " เกิดขึ้นใหม่ให้เราได้เห็นกันเป็นจำนวนมากจากทั่วทุกมุมโลก ล้วนเกิดจากเหล่าคนยุคใหม่ที่มีพลังสมอง และกระหายในการสร้างสรรค์ธุรกิจใหม่ๆ ได้สร้างแรงบันดาลใจให้กับคนทั่วโลก ที่ต้องการประสบความสำเร็จอย่าง Google, TikTok, Facebook, Uber และ Airbnb เป็นต้น โดยรูปแบบธุรกิจ Startup เหล่านี้ ได้เข้ามาทำลายล้างรูปแบบการทำธุรกิจแบบดั้งเดิม ซึ่งในอดีต เราคงนึกไม่ถึงว่าการที่เราจะหาข้อมูลทุกอย่างในโลกนี้ได้ด้วยนิ้วสัมผัส หรือการติดต่อสื่อสารกับคนทั่วทุกมุมโลกได้ง่ายๆ นั้น จะเกิดขึ้นในวันนี้ อย่างไรก็ตาม แม้จะมี " Startup " ที่เกิดขึ้นใหม่เป็นจำนวนมาก แต่ในขณะเดียวกัน ก็เหลือเพียงไม่กี่รายที่ได้ไปต่อ และมีเพียงน้อยนิดที่ประสบความสำเร็จในระดับที่ต้องการ คำถามที่น่าสนใจคือ ทำไมธุรกิจสตาร์ทอัพถึงประสบความสำเร็จได้ยาก แล้วอะไรกันแน่ที่มีส่วนสำคัญที่ทำให้สตาร์ทอัพส่วนใหญ่มีอัตราการล้มเหลวถึง 90 % ไม่น่าเชื่อว่ามีเพียง 10% เท่านั้น ที่ประสบความสำเร็จ ซึ่งสถิติกลุ่มธุรกิจที่ล้มเหลว 3 อันดับแรกนั้น ล้วนเป็นธุรกิจที่มีจำนวนมากเป็นอันดับต้นๆ เช่นกัน นั่นก็คือ “ ไอที ก่อสร้าง อุตสาหกรรม " สาเหตุที่ทำให้ธุรกิจไอทีล้มเหลวเป็นอันดับแรกนั้น ก็คงไม่พ้นการมีคู่แข่งในธุรกิจด้านนี้เป็นจำนวนมาก และการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี ที่มีสิ่งใหม่ๆผุดออกมาให้เราได้ทึ่งกันอยู่เสมอ ก่อนที่เราจะไปดูเหตุผลความล้มเหลวของ Startup และองค์ประกอบที่ทำให้พวกเขาประสบความสำเร็จว่ามีอะไรบ้างนั้น เรามาดูตัวอย่าง Startup ที่ " ปัง " และ Startup ที่ " พัง " กันก่อนดีกว่า ว่าพวกเขาทำอะไรถึงประสบความสำเร็จ และสำหรับธุรกิจที่ไม่ได้ไปต่อนั้นพวกเขามีเหตุอันใดถึงต้องปิดตัวลง

ตัวอย่าง Startup ที่

5 สตาร์ทอัพ ที่ทรงอิทธิพลระดับโลก เช่น 1. Alphabet ( บริษัทแม่ของ Google ) ได้ยินชื่อนี้อาจไม่คุ้นหู แต่ถ้าบอกว่า Google น่าจะร้องอ๋อกันขึ้นมาทันที บริษัทนี้เป็นบริษัทแม่ของ Google นั่นเอง มีมูลค่าธุรกิจกว่า 1.533 ล้านล้านดอลลาร์ โดยผลการดำเนินงานที่เติบโตมาจากการเติบโตที่แข็งแกร่งของกลุ่มบริการการค้นหา และคลาวด์ ซึ่งเป็นบริการที่ตรงกับความต้องการของตลาดอยู่ตลอดเวลา 2. Meta ( ชื่อเดิมคือ Facebook ) ถ้าพูดชื่อ Meta บางคนก็อาจจะยังนึกไม่ออก แต่ถ้าบอกว่า นี่เป็นชื่อบริษัทใหม่ของ Facebook ก็คงรู้จักทันที โดยที่ผ่านมา บริษัทนี้ก็ติดอยู่ในลิสต์ 10 อันดับบริษัทที่มี Market Cap.com มากที่สุดในโลกมาพักใหญ่แล้ว โดย Meta มีมูลค่าธุรกิจกว่า 5.678 แสนล้านดอลลาร์ 3. ByteDance ByteDance บริษัทยูนิคอร์น สตาร์ทอัพสัญชาติจีน มีมูลค่าการลงทุน 1.7 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ บริษัทแม่ของแอปยอดฮิตอย่าง TikTok ที่เป็นที่รู้จักกันทั่วโลก พวกเขารู้ว่าผู้ใช้แต่ละกลุ่มต้องการอะไร ทำให้มีผู้ใช้งานที่หลากหลาย และ Douyin ที่สามารถใช้บริการได้เฉพาะชาวจีนเท่านั้น 4. SpaceX มีมูลค่าลงทุน 7.4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยทำธุรกิจขนส่งทางอากาศ สัญชาติสหรัฐอเมริกา ซึ่งเชื่อว่าก็เป็นอีกหนึ่งบริษัทที่เป็นที่รู้จักทั่วโลก เพราะผู้บริหารก็คือ อีลอน มัสก์ ที่นับว่าเป็นผู้ที่ทรงอิทธิพลในวงการธุรกิจ ไม่ว่าเขาจะขยับหรือทวิตข้อความใดๆลงบนโซเชียล ก็เป็นที่จับตาของบรรดานักลงทุน 5. Uber มีมูลค่าธุรกิจกว่า 6.8 หมื่นล้านดออลลาร์ เรื่องราวของ Uber ที่ปรากฏให้เราเห็นในสื่อล้วนเต็มไปด้วยความขัดแย้ง และข้อพิพาทต่าง ๆ ไม่เว้นแม้แต่ในเมืองไทย แต่หากเรามองข้ามประเด็นเหล่านั้นก็ชวนให้ทึ่งได้เหมือนกันกับความสำเร็จที่ Uber แสดงให้พวกเราได้ประจักษ์ ไม่ว่าจะเป็นนวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมขนส่งไปอย่างสิ้นเชิง การเติบโตแบบก้าวกระโดด การไม่ยอมแพ้ต่อขนบเดิม ๆ และการกลายเป็นสตาร์ทอัพที่มีมูลค่าสูงระดับโลกภายในระยะเวลาเพียง 6 ปี

3 Startup ที่ไปไม่ถึงดวงดาวตามที่ต้องการ เช่น 1. Jawbone (เริ่มก่อตั้งปี 1997 – ปิดตัวกรกฎาคม ปี 2017) Jawbone รายนี้ก่อตั้งมานานและเป็นที่รู้จักกันดี เรียกได้ว่าเป็นผู้บุกเบิกในวงการอุปกรณ์สวมใส่สำหรับการออกกำลังกาย มากกว่านั้น สตาร์ทอัพรายนี้ยังพุ่งไปอยู่จุดที่เรียกว่าเป็น “สตาร์ทอัพยูนิคอร์น” เพราะได้ระดมทุน 1 พันล้านเหรียญ และมีมูลค่าสูงไปถึง 3 พันล้านเหรียญอีกด้วย แต่ธุรกิจนี้ก็มีอันต้องพับไปเช่นกันเนื่องจาก Hosain Rahman ผู้ก่อตั้งและซีอีโอ ได้ไปเริ่มต้นบริษัทใหม่ที่ชื่อว่า Jawbone Health Hub โดยจะเน้นการพัฒนาฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ไปพร้อมๆ กันเพื่อให้ทันกับยุคสมัยมากขึ้นด้วย 2. Beepi (เริ่มก่อตั้งปี 2013 – ปิดตัวกุมภาพันธ์ ปี 2017) Beepi เว็บไซต์ที่รวบรวมผู้ซื้อและผู้ขายรถยนต์ใช้แล้ว ดูท่าจะไปได้สวยเพราะระดมทุนตั้งต้นได้ถึง 150 ล้านเหรียญ ส่วนมูลค่าเคยพุ่งไปถึง 560 ล้านเหรียญ จนทำให้ Fair.com และ ตัวแทนจำหน่ายรถยนต์อย่าง DGDG ขอซื้อกิจการ แต่ Beepi ก็ไม่ขาย สุดท้ายธุรกิจนี้ก็ไปไม่รอดเพราะหมดเงินดำเนินการต่อจึงต้องปิดกิจการลงไป 3. Sprig (เริ่มก่อตั้งปี 2013 – ปิดตัวพฤษภาคม ปี 2017) สตาร์ทอัพบริการส่งอาหารเดลิเวอรี่ในซานฟรานซิสโก เพราะเน้นไปที่อาหารคุณภาพสูงและอาหารในท้องถิ่น และบอกเลยว่าจะส่งอาหารภายใน 15 นาที แต่สุดท้ายไปไม่ไหว เพราะรูปแบบธุรกิจไม่ยั่งยืน เนื่องจากสู้กับคู่แข่งที่มีราคาต่ำกว่าอย่าง Seamless ไม่ได้ ส่วนการระดมทุนของรายนี้อยู่ที่ 57 ล้านเหรียญ มีมูลค่าสูงสุดถึง 110 ล้านเหรียญ Gagan Biyani ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ Sprig ได้พูดถึงเรื่องนี้ไว้ว่าธุรกิจส่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ไม่ใช่งานง่ายและมีความซับซ้อนมากและมากเกินกว่าที่ Sprig จะสู้ได้

เหตุผลที่ทำให้ Startup กว่า 90% ล้มเหลว

สำหรับฝันร้ายที่ทำให้ Startup มากกว่าครึ่ง หรือเกือบทั้งหมดต้องปิดตัวลงอย่างน่าเสียดาย ทั้งๆ ที่มี Idea ที่ดี และดูเหมือนจะไปได้ไกล นั่นเป็นเพราะตัวแปรที่มากมายในอุตสาหกรรมต่างๆ จากรูปภาพด้านบนเป็นการแสดงผลจากการรวบรวมสถิติของ "CB Insights" ที่วิเคราะห์จากสตาร์ทอัพที่ตายแล้ว 101 ราย โดยปรากฏข้อมูลที่ให้ว่าสาเหตุหลักๆ ที่ทำให้สตาร์ทอัพไม่ประสบความสำเร็จนั่นมีหลายปัจจัยด้วยกัน หลักๆ คือ 1.42% สินค้าและบริการไม่ตรงตามความต้องการของตลาด และผู้ใช้งานไม่มากพอ : ปัญหาแรกนี้เป็นสิ่งที่ Startup เกือบ 50% ต้องเจอ คือ พวกเขาประสบปัญหาด้านการจัดการการตลาด ซึ่งพวกเขาอาจจะใส่ใจแค่ในด้านผลิตภัณฑ์ด้านเดียว และให้ความสนใจในด้านการตลาดน้อย หรือไม่มีประสบการณ์ด้านนี้เลย และพวกเขาไม่รู้วิธีการการทำการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์ที่พวกเขาสร้างขึ้นมา เพราะไอเดียที่อยู่ในหัวนั้นอาจเป็นสิ่งที่ดี เลิศเลอ และมองว่าตอบโจทย์มากกับคนส่วนใหญ่ เมื่อนำไปถามกับคนรอบตัวก็ได้คำตอบเดียวกัน แต่ไม่เคยลองถามคนที่ไกลกว่านั้น เช่น ทำ Prototype ไปทดลองใช้จริงกับกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งเมื่อมันตอบโจทย์คนได้น้อยนิด การจะอยู่รอดของธุรกิจจึงเป็นไปได้ยาก สุดท้ายไอเดียที่คิดว่าดี ก็ไม่ใช่สิ่งที่จะอยู่ในโลกธุรกิจเสมอไป ถ้าผู้ใช้งานในไอเดียนั้นๆ ไม่มากพอ 2. 29 % ต้นทุนการผลิตสูงเกินไป : หนึ่งในเหตุผลหลักที่ทำให้ธุรกิจ Startup ต้องปิดตัว ส่วนหนึ่งมาจากเรื่องของปัญหาการเงิน เนื่องจากธุรกิจแนวนี้ในช่วงเริ่มแรกคุณจะยังไม่สามารถทำกำไรได้อย่างแน่นอน ต้องใช้เงินในกระเป๋าของตัวเองมาจัดการบริหารสิ่งต่างๆ จึงไม่แปลกที่จะมีเวทีให้เหล่านักลงทุนและ Startup ได้มาพบปะกันเยอะมาก แต่เพราะผู้ชนะในการ Pitching มีได้แค่ไม่กี่คน ทำให้เงินทุนของ Startup ที่เหลือขาดมือ และสู้ต้นทุนการผลิตที่สูงเกินไปของตัวเองไม่ไหว สุดท้ายต้องล้มเลิกไปอย่างน่าเสียดาย 3. 23 % ขาดทีมที่เหมาะสม : ไม่ว่าธุรกิจไหนๆ ก็ต้องการ "ทีมที่ใช่" สตาร์ทอัพก็เช่นกัน ทีมที่มีความหลากหลายและมีทักษะที่แตกต่างกันมีความสำคัญต่อความสำเร็จของกิจการ ซึ่งหลายครั้งที่ทีมไม่แข็งแกร่งพอ ก็เป็นส่วนที่ทำให้ธุรกิจไปต่อไม่ได้อย่างน่าเสียดาย

อยากเป็น Startup ที่ประสบความสำเร็จ ต้องมีองค์ประกอบเหล่านี้

1. สร้างสินค้าและบริการที่ดีกว่าของเดิมที่มีอยู่ แน่นอนว่าจุดเริ่มต้นการทำ Startup สุดท้ายก็ยังคงมีแนวคิดแบบเดียวกันไม่เปลี่ยนไป นั่นคือการเข้ามา Disrupt หรือแก้ปัญหาสิ่งที่มีอยู่ให้ดีขึ้น ถ้าสินค้าและบริการของคุณมั่นใจว่ามันจะทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของคนส่วนใหญ่ดีกว่าเดิมได้ นั่นแสดงว่าคุณมาถูกทางแล้ว 2. ผู้คนพร้อมใช้งาน ลำพังแค่ธุรกิจดี โปรดักต์เลิศ ไม่ได้การันตีว่า Startup ของคุณจะประสบความสำเร็จ เพราะสุดท้ายตัวแปรสำคัญก็คือ ลูกค้าของคุณต้องมั่นใจในเรื่องของเวลาว่าตอนนี้ฐานลูกค้าเค้าพร้อมจะเสียเงินใช้บริการของคุณจริงๆ เช่น ถ้าคุณเริ่มทำยูทูปเมื่อ 10 ปีก่อน คุณจะไม่มีทางประสบความสำเร็จง่ายๆ เหมือนอย่างทุกวันนี้แน่ๆ 3. ทีมงานดี ทำหน้าที่ได้ดีเลิศ ทีมงานที่คอยเป็นผู้พัฒนา Startup ก็สำคัญ เพราะถ้าไม่เก่งจริง การจะผลิตแอปหรือเว็บไซต์ให้สอดคล้องกับผู้ใช้งานเป็นสิ่งที่แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย เพราะนอกจากเรื่องของระบบแล้ว ยังมีเรื่องของศิลปะ ทั้ง UX/UI การจัดวางตำแหน่งปุ่มต่างๆ ซึ่งแน่นอนสิ่งเหล่านี้กระทบความรู้สึกของผู้ใช้งานว่าอยากจะใช้งานต่อหรือพอแค่นี้ 4. ตลาดต้องใหญ่ไม่ใช่กลุ่มเล็กๆ การจะทำธุรกิจคุณต้องมั่นใจว่ามันจะขายได้ มีคนจำนวนมากพร้อมใจซื้อ เพราะ Startup เองก็ต้องอาศัยการลงทุนเช่นกัน โดยเฉพาะคอนเซปต์ของมันคือ ลงทุนน้อย แต่ได้ผลตอบรับมาก ดังนั้นการวางเป้าหมายให้ใหญ่ตั้งแต่แรก ถึงจะช่วยให้ธุรกิจนี้มีโอกาสสำเร็จสูงมากขึ้นกว่าปกติ 5. มีความเป็นเอกลักษณ์ลอกเลียนไม่ได้ สุดท้ายแล้วการที่ Startup เล็กๆ หายไป ส่วนใหญ่ก็มาจากการโดน Disrupt โดยธุรกิจใหญ่ๆ ที่มีทุนหนา และมองเห็นไอเดียที่ Startup เหล่านั้นมี ซึ่งแน่นอนว่าเค้าเหล่านั้นสามารถพัฒนาให้ประสบความสำเร็จ และยิ่งใหญ่ ระดมงบการตลาดให้เข้าถึงคนหมู่มากได้ง่ายกว่า Startup เล็กๆ แน่นอน ดังนั้นแค่ไอเดียอย่างเดียวไม่พอ ต้องมองหาเอกลักษณ์ที่ไม่สามารถลอกเลียนแบบได้ หรือไม่ก็พัฒนาระบบต่อไปแบบที่เค้าไม่มีทางปรับตัวได้ทัน

โดยภาพรวมแล้วสรุปได้ว่า ยังมีอีกหลายปัจจัยที่จะทำให้เหล่า Startup นั้นๆ ไม่ประสบความสำเร็จ อย่างไรก็ตาม สถิติโดยประมาณดังกล่าวนั้น ไม่ควรนำมาคิดให้หลอกหลอนจนขัดขวางความกล้าที่จะเริ่มต้น Startup แต่เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ Startup ควรที่จะต้องมีวิธีการทำงานอย่างชาญฉลาด และมีความเข้มงวดกว่าเดิม แต่ทั้งนี้ ก็ใช่ว่าจะทำให้พวกเขาสามารถประสบความสำเร็จได้ทุกราย แต่ความสำเร็จที่ได้มานั้น ควรจะต้องมีองค์ประกอบหลายอย่างมาเกื้อหนุนเสมอ ซึ่งหาก Startup มีลักษณะดังเช่นที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ก็จะทำให้สามารถประสบความสำเร็จได้ในที่สุด ในตอนต่อไป เราจะพาไปเจาะลึกความสำเร็จของเหล่า Startup ที่ประสบความสำเร็จ และทรงอิทธิพลกับคนยุคใหม่กัน ว่าพวกเขาทำอะไร และมีกลยุทธ์ยังไงให้ธุรกิจอยู่รอดท่ามกลางคู่แข่งที่มากมาย จะมีสตาร์ทอัพไหนบ้าง? ใช่สตาร์ทอัพที่พวกคุณกำลังให้ความสนใจอยู่หรือป่าว? โปรดติดตาม และห้ามพลาดเรื่องดีๆ ในตอนต่อไป ( เรียบเรียงโดย ศุภวรรณ พุ่มพวง : Internship of True Incube ), ( ติดตามความเคลื่อนไหวของ True Incube ได้ที่ : https://www.facebook.com/trueincube )